10 สิ่งที่ควรรู้ในฉลากเครื่องสำอาง

Last updated: 27 ม.ค. 2565  |  2642 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 สิ่งที่ควรรู้ในฉลากเครื่องสำอาง

1.ชื่อเครื่องสำอาง และชื่อการค้า

แนวทางการพิจารณาชื่อเครื่องสำอาง และชื่อการค้า

  • ชื่อเครื่องสำอางและชื่อการค้า ทั้งภาษาไทยและอังกฤษต้องมีความยาวที่สอดคล้องตรงกัน หรือใช้ทับศัพท์
  • ไม่ใช้ข้อความเกินจริง คำศัพท์ ตัวย่อ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง ตัวอักษร ตัวเลข การออกเสียง ก่อให้เกิดความหมายผิด หรือการสื่อความหมาย แสดงสรรพคุณเกินขอบข่าย
  •  ต้องไม่ใช้ข้อความ ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ใช่เครื่องสำอาง


    2.วิธีใช้

    ควรระบุวิธีใช้ให้ละเอียด และเข้าใจง่าย เพื่อให้ลูกค้าใช้ได้อย่างถูกต้อง และประสิทธิภาพในการใช้สูงสุด 

    3. เลขที่จดแจ้ง (อย.)เลขที่ใบรับแจ้ง หรือเลขที่จดแจ้งเป็นเลข 10 หลัก บนฉลากเครื่องสำอาง เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้มาแจ้งรายละเอียดตามข้อกำหนดการผลิตเพื่อขาย หรือ นำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอาง ที่ไปทำการขึ้นทะเบียนจดแจ้งกับทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มจาก ผู้ประกอบการจะเป็นบุคคล หรือ นิติบุคคลก็ได้
    ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการก่อน (ถ้าเป็นผู้ผลิตเสีย 1,000 บาท แต่ถ้าเป็นผู้นำเข้าเสียค่าธรรมเนียม 2,000 บาท)

    4. ประเภท หรือ ชนิด

    ประเภท หรือชนิดเครื่องสำอาง
    เดิมเครื่องสำอางถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
    1. เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ย้อมผมถาวร ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ผลิตภัณฑ์ดัดผม ยืดผม ฟอกสีผม กำจัดขน
    2. เครื่องสำอางควบคุม ได้แก่ เครื่องสำอางที่ผสมสารป้องกันแสงแดด ผ้าอนามัย ผลิตภัณฑ์ขจัดรังแคที่มีสารซิงก์ไพริไทออน หรือ ไพรอกโทน โอลามีน แป้งฝุ่นโรยตัว
    3. เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม สเปรย์ เจลแต่งผม
    ปัจจุบัน มีเครื่องสำอางประเภทเดียวที่จะต้องไปยื่นจดแจ้งที่ อย. คือ “เครื่องสำอางควบคุม”
    ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
    เครื่องสำอางควบคุม หมายถึง เครื่องสำอางที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะต้องแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางควบคุม และชำระค่าธรรมเนียมรายปี จึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางควบคุมได้
    โดยทั่วไป มักแบ่งเครื่องสำอางเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามประโยชน์ใช้งาน คือ
    1. ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หรือ สกินแคร์ (Skin care products)
    2. ผลิตภัณฑ์แต่งหน้า หรือ เมคอัพ (Make up products) 

    5. ปริมาณสุทธิ

    ปริมาณสุทธิต้องเป็นน้ำหนักหรือปริมาตรเครื่องสำอางที่ไม่รวมภาชนะบรรจุ พร้อมระบุหน่วย เช่น กรัม (g)

     


    6. คำเตือน

    คำเตือน (ในบางกรณี) เครื่องสำอางบางประเภทจะต้องแสดงคำเตือนที่ฉลากด้วยเนื่องจากผลิตภัณฑ์นั้นอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ง่ายเช่น ผลิตภัณฑ์ย้อมผม เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงข้อควรระวังในการใช้เครื่องสำอางนั้นๆ เช่น ให้หยุดใช้เมื่อเกิดอาการระคายเคือง และควรพบแพทย์

    7. เดือน ปีที่ผลิต และวันหมดอายุ

    การแจ้งวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างยิ่ง และทำให้เกิดความมั่นใจในการซื้อ
    อักษรย่อคำว่า MFG. หมายถึง Manufactured Date หรือวันที่ผลิตสินค้า
    อักษรย่อคำว่า EXP. หมายถึง Expired Date หรือวันที่สินค้าจะหมดอายุ

    8. ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า

    เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเป็นการแสดงความรับผิดชอบของเจ้าของผลิตภัณฑ์หากผู้บริโภคเกิดปัญหาใดๆก็สามารถติดต่อไปยังผู้รับผิดชอบได้ทั้งในกรณีเครื่องสำอางที่ผลิตในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ

    9.เลขแสดงครั้งที่ผลิต

    เพื่อให้ทราบถึง Lot. ที่ทำการผลิต เช่น หากเกิดปัญหาทำให้เราทราบว่ามาจากของ Lot ไหน

    10.ส่วนประกอบ ชื่อสารทุกชนิดที่เป็นส่วนผสม

    แจกแจงรายละเอียดของส่วนประกอบสินค้าว่าทำมาจากอะไรบ้างและในอัตราส่วนเท่าไหร่ และจะต้องเรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย แสดงเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้